วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง

 7 อุปนิสัยสำหรับผู้มีประสิทธิผมยิ่ง

บทเรียนทรงพลัง
เพื่อการเปลี่ยนแปลงโฉมชีวิตส่วนบุคคล

คำนำผู้เขียน
โลกเปลี่ยนไปแทบไม่เหลือเค้าเดิม นับจาก 7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ตีพิมพ์ครั้งแรก ชีวิตซับซ้อนยิ่งขึ้น ความเครียดเพิ่มมากขึ้น รุกเร้าเรียกร้องมากขึ้น เราเคื่อนย้ายจากยุคอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร/คนทำงานด้วยความรู้ และแบกรับผลใหญ่หลวงที่ตามมา เราพานพบการท้าทายและปัญหาในชีวิตส่วนตัว ในครอบครัว ในองค์กรอย่างไม่อาจวาดภาพออกมาได้เมื่อทศวรรษก่อนที่ผ่านมา ความท้าทายใหม่เพียงเพิ่มความเข้มข้นเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม

ความเปลี่ยนแปลงทุกหัวระแหงในสังคมและการเคลื่อนแกว่งพังทลายของตลาดดิจิตอลโลกแคบ ทำให้คำถามสำคัญผุดขึ้นมา คำถามที่ผู้คนยกมาถามผมบ่อยครั้ง...7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง ยังนำมาปรับใช้ในยุคนี้ได้หรือไม่? กล่าวขยายความต่อไปได้ว่า จะยังนำมาปรับใช้ได้อีกสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้า หรือร้อยปีข้างหน้าได้หรือไม่? คำตอบของผมคือ ยิ่งความเปปลี่ยนแปลงมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหาท้าทายสาหัสมากขึ้น อุปนิสัยทั้งเจ็ดนี้ก็ยิ่งทวีความสำคัญเป็นเงาตามตัว เหตุผลก็คือ ปัญหาของเราความเจ็บปวดของเราเป็นสากล หนทางแก้ปัญหาจักต้องอยู่บนรากฐานของหลักการสากล อกาลิโก ประจักษ์ชัดในตนเอง หลักการที่พบเห็นได้ในทุกสังคมยั่งยืนและเจริญเติบโตทุกยุคทุกสมัยในประวัติศาสตร์ ผมมิได้เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นอุปนิสัยเหล่านี้ และไม่แอบอ้างรับว่าเป็นผลงานของตน ผมเพียงแค่ระบุอุปนิสันนี้ให้ชัดเจน จัดให้อยู่ในกรอบ เรียงลำดับไปสู่การนำไปปฏิบัติใช้งานได้จริง

ผลของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผมเรื่องหนึ่งคือ หากคุณประสงค์จะทะยานสู่จุดสูงสุดและเอาชนะปัญหาสาหัสที่สุด คุณจักต้องระบุและปรับหลักการหรือกฎธรรมชาติที่บังคับและบัญชาเป้าหมายที่คุณประสงค์ การปรับใช้หลักการนั้นด้วยวิธีใด แต่ละคนทำได้ไม่เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับความแกร่ง ฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ของคุณ ที่ปลายยอดสูงสุดนั้น ความสำเร็จในทุกภารกิจจะได้จากการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับหลักการที่ผูกติดกับสำเร็จนั้นเสมอ

คนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดในทำนองนี้ แท้จริงแล้ว คุณจะพบเสมอว่าหนทางแก้ปัญหาอิงหลักการ มักจะตรงกันข้ามกับวิธีปฏิบัติและแนวคิดกระแสหลักในสังคม ผมใคร่ขอยกตัวอย่างแสดงภาพตัดกันของปัญหาท้าทายมนุษย์ที่เราพบเห็นกันจนเป็นเรื่องสามัญ

ความกลัวและการขาดไร้ความมั่นคง คนจำนวนไม่น้อยในยุคนี้จมอยู่กับความหวาดกลัว กลัวอนาคต หวาดหวั่นไม่แน่ใจในที่ทำงาน กลัวการตกงานไม่มีรายได้เลี้ยงครอบครัว การขาดไร้ความมั่นคงเช่นนี้ ทำให้ผู้นั้นยินยอมค้อมรับการใช้ชีวิตไร้ความเสี่ยง ทอดตนพึ่งพาผู้อื่นทั้งในที่ทำงานและในครอบครัว การตอบสนองต่อปัญหาในวัฒนธรรมของเรา ยึดถือการพึ่งตนเอง...เชิดชูความเป็นไทมากขึ้น และมากขึ้น "ฉันจะทุ่มความสนใจให้ตัวเองและสิ่งที่เป็นของฉัน ฉันจะทำงานให้ดี และเสพรับความอภิรมณ์จากงานที่ทำ" การพึ่งตนเองมีความสำคัญ สำคัญถึงระดับแก่นของค่านิยมและความสำเร็จ ปัญหาแท้จริงจะอยู่ที่ว่าเราใช้ชีวิตในความเป็นจริง พึ่งพาซึ่งกันและกัน ความสำเร็จสำคัญที่สุดของเรา ต้องอาศัยทักษะการพึ่งพาซึ่งกันและกัน เลยไกลไปกว่าความสามารถและฝีมือของเราเพียงคนเดียว

"ต้องได้เดี๋ยวนี้" คนเราต้องการวัตถุสิ่งของ ต้องการเดี๋ยวนี้ "ฉันอยากรวย อยากมีบ้านสวยหลังใหญ่ รถยนต์หรู โฮมเธียร์เตอร์ชุดใหญ่ ฉันต้องการทั้งหมด ฉันมีสิทธิควรจะได้รับ" แม้สังคมบัตรเครดิตในยุคปัจจุบันจะอำนวยความสะดวก 'รูดบัตรก่อน ผ่อนใช้ในภายหลัง' ไม่นานนัก ความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจไล่ตามมาทัน เราได้รับคำเตือนเจ็บปวดอีกครั้งว่า ความอยากได้อยากซื้อสินค้า ล้ำหน้าไปกว่าความสามารถในการผลิตของเรา การเสแสร้งไม่ยอมความจริงเรื่องนี้ ทำได้ต่อเนื่องไม่นานนัก ดอกเบี้ยบัตรเครดิตโหมกระหน่ำรุมเร้าไม่ลดละผ่อนปรน แม้การทุ่มเททำงานหนักก็ยังไม่เพียงพอ อัตราเร็วจนตาลายของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การมีความรู้ยังไม่เพียงพอ เราจะต้องเรียนรู้ใหม่ต้องประดิษฐ์คิดค้นใหม่อีกรอบ เราจะต้องพัฒนาความคิดและลับให้คมกริบอยู่เสมอ เราจะต้องลงทุนในการพัฒนาระดับฝีมือของเรา เพื่อไม่ให้ล้าหลังตกยุค การแข่งขันเหี้ยมเกรียม การรอดชีวิตสืบต่อไปกลายเป็นเค้าเดิมพันไปแล้ว ความจำเป็นต้องผลิตวันนี้ พอเพียงจะสนองความเป็นจริงวันนี้ แต่มนตราสำคัญของความสำเร็จ จะอยู่ที่การเจริญเติบโต และการรักษาสภาพนั้นให้ต่อเนื่อง คุณอาจจะทำยอดได้เข้าเป้าในไตรมาสนี้ แต่คำถามจะอยู่ที่ว่า คุณลงทุนเพื่อก่อให้เกิดความเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเลยไกลไปถึงหนึ่งปีข้างหน้า ห้าปี หรือสิบปีแล้วหรือยัง? วัฒนธรรมของเราและตลาดหุ้นวอลล์สตรีตสนใจเพียงแค่ 'วันนี้' แต่หลักการของการสร้างสมดุลระหว่าผลผลิตกับความสามารถในการผลิตเพื่อความสำเร็จในอนาคต ไม่อาจเลี่ยงหลบได้ เรื่องนี้เป็นจริงต่อการสนองตอบเรื่องสุขภาพ ชีวิตสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครับและชุมชน

การตำหนิกล่าวโทษและภาวะการตกเป็นเหยื่อ เมื่อใดที่คุณพบปัญหา คุณจะได้เห็นการชี้นิ้วกล่าวโทษ สังคมของเราเสพติดการทอดร่างโอดครวญของเหยื่อผู้น่าสงสาร "ขอเพียงเจ้านายไม่บ้าอำนาจควบคุมขนาดหนัก...ขอเพียงฉันไม่ได้เกิดมาในครอบครัวยากจน...ขอเพียงได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมดีกว่านี้...ขอเพียงไม่ได้รับอารมณ์ร้ายเป็นมรดกตกทอดจากพ่อ...ขอเพียงลูกไม่กระด้างกระเดื่องเป็นขบถ...ขอเพียงแผนกอื่นไม่ทำงานพลาดจนยอดสั่งซื้อหลุดมือไป...ขอเพียงพวกเราไม่อยู่ในวงการธุรกิจขาลง...ขอเพียงพนักงานในบริษัทของเราไม่ขี้เกียจไร้แรงขับ...ขอเพียงภรรยาเข้าใจตัวผมได้มากกว่านี้...ขอเพียง...ขอเพียง" การชี้นิ้วกล่าวโทษตำหนิผู้อื่นและสิ่งอื่นรอบกายสำหรับปัญหาและความท้าทายต่อชีวิตของเรา กลายเป็นบรรทัดฐานสามัญประจำสังคมไปแล้ว และอาจทำให้ลดความเจ็บปวดชั่วคราว แต่จะผูกโซ่รัดเราไว้กับปัญหานั้นตลอดกาล แนะนำใครสักคนให้ผมรู้จัก ถ้าบุคคลผู้นั้นสมถะนอบน้อมพร้อมจะค้อมรับความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และกล้าพอจะริเริ่มสร้างสรรค์เรียนรู้เรื่องใหม่อันจำเป็นสำหรับการแก้ปัญหานั้นอย่างสร้างสรรค์ ผมจะแสดงให้คุณได้เห็นถึงพลังอำนาจของอิสรภาพในการเลือกในตัวของเขา

ความท้อแท้สิ้นหวัง ลูกหลานของการตำหนิกล่าวโทษ จะเป็นการส่อเสียดเย้ยหยันและความท้อแท้สิ้นหวัง เมื่อใดที่เรายอมรับยอมเชื่อว่าเราเป็นเหยื่อของสภาวการณ์ ต้องก้มหัวให้ตัวกำหนด เราสูญความหวังเราสิ้นแรงขับ เราหดหู่ยอมพ่าย "ฉันเป็นเพียงเบี้ยกลางกระดาน เป็นหุ่นให้ผู้อื่นชักใย เป็นเฟืองเล็กในเครื่องจักรกล ทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว ช่วยบอกทีว่าฉันควรทำสิ่งใด" คนฉลาดยอดฝีมือหลายคนคิดเช่นนี้ และจมอยู่กับการถอดใจและความเศร้าซึมที่ตามมา การตอบสนองเพื่อการอยู่รอดในวัฒนธรรมกระแสหลัก ถือได้ว่าเป็นเรื่องเสียดเย้ย "ลดความคาดหวังลงเสียบ้างจะได้ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นผิดหวัง" ฟากฝั่งตรงข้ามของหลักการว่าด้วยการเจริญเติบโตและความหวังในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จะเป็นการค้นพบว่า "ฉันเป็นแรงสร้างสรรค์ในชีวิตของตัวเอง"

ขาดสมดุลของชีวิต ชีวิตในโลกยุคโทรศัพท์มือถือซับซ้อน รุกเร้า เครียดและเหนื่อยล้า เราทุ่มเทอุตสาหะจัดระบบเวลาทำให้มากขึ้น ผลงานมากขึ้น และได้ประสิทธิภาพมากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีมหัศจรรย์ใหม่ล่าสุด แล้วทำไมเราจึงได้หล่นเข้าไปในปลั๊กเรื่องเล็กเรื่องน้อย แลกกับสุขภาพครอบครัวบูรณภาพ และเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่องานของเรา? ปัญหาไม่ได้อยู่ที่งาน ซึ่งเป็นจักรกลเลี้ยงชีวิตให้รอดสืบไปได้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความซับซ้อนหรือความเปลี่ยนแปลง ปัญหาจะเป็นสิ่งที่วัฒนธรรมของเราบอกว่า 'เข้าทำงานก่อน เลิกทีหลัง เพิ่มประสิทธิภาพเสียสละในช่วงนี้ของชีวิต' ความจริงแล้วความสมดุลและความสงบของจิตใจ มิได้มาจากแนงคิดนี้ สมดุลของชีวิตจะตามติดบุคคลผู้พัฒนาสายตายาวไกลมองเห็นลำดับความสำคัญในชีวิต ใช้ชีวิตทุ่มความสำคัญไปยังจุดนั้นด้วยบูรณภาพ

"ฉันได้ประโยชน์อะไรบ้าง?" วัฒนธรรมของเราสอนไว้ว่า ถ้าต้องการอะไรสักอย่างในชีวิต เราจำต้อง 'ทะยานไปยืนบนแป้นมือหนึ่ง' เสมอ นั่นก็คือ 'ชีวิตก็แค่เกม การแข่งขัน การประกวด ต้องคว้าชัยชนะมาให้ได้' เพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่สมาชิคในครอบครัวเดียวกัน จะกลายเป็นคู่แข่ง ถ้าผู้อื่นชนะ นั่นก็หมายความว่าเหลือส่วนแบ่งให้เราเพียงน้อยนิด แน่นอนอยู่แล้ว เราจะปั้นหน้าให้ร่าเริงแสดงความยินดีไปกับความสำเร็จของผู้อื่น แต่ในใจของเรา ยามที่เราอยู่ตามลำพัง เราห่อเหี่ยวร่ำไห้ไปกับความสำเร็จของผู้อื่น เรื่องยิ่งใหญ่มากหหลายในอารยธรรมมนุษยชาติ สำเร็จลงด้วยความประสงค์อิสระของผู้มุ่งมั่นตั้งใจแน่วแน่ แต่โอกาสสูงสุด และผลสำเร็จไร้ขอบเขตจำกัด ในยุคคนทำงานด้วยความรู้ สงวนไว้ให้บุคคลผู้เชี่ยวชาญศิลปะ 'เรา' เท่านั้น ความยิ่งใหญ่แท้จริงจะบรรลุได้ผ่านกรอบแห่งจิตเหลือเฟือ การทำงานไร้ตัวตน...มีความนับถือระหว่างกัน 'เพื่อ' ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

ความโหยหา อยากให้ผู้อื่นเข้าใจ มีความหิวโหยในหัวใจมนุษย์ไม่กี่เรื่องที่จะใหญ่ไปกว่าความต้องการให้ผู้อื่นมาเข้าใจ อยากให้เสียงที่ตนเปล่งออกไปมีผู้รับฟัง นับถือ เห็นคุณค่า...มีอิทธิพล คนส่วนใหญ่เชื่อว่ากุญแจไขสู่การแผ่อิทธิพล จะอยู่ที่ทักษะการสื่อสาร เสนอเรื่องราวได้ชัดเจน มีวาทศิลป์โน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อตาม แท้จริงแล้ว หากคุณลองคิดดู ในยามที่ผู้อื่นพูด คุณไม่ได้สนใจรับฟังคำกล่าวของเขา คุณยุ่งอยู่กับการเตรียมคำตอบ จุดเริ่มต้นของการแผ่อิทธิพลแท้จริง จะอยู่ที่ว่า ปล่อยให้ผู้อื่นแพร่อิทธิพลครอบตัวคุณเสียก่อน เมื่อใดที่พวกเขารู้สึกว่าคุณรับฟังจนเข้าใจในตัวเขาแล้ว คุณรับฟังด้วยความจริงใจ รับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ เปิดใจให้กว้าง พวกเขาก็พร้อมจะรับฟังคุณ แต่คนส่วนใหญ่มีจุดอ่อนเชิงอารมณ์เกินกว่าจะรับฟังลึกซึ้ง ไม่กล้าจะสะกดวาระส่วนตัวขอตัวเองให้รั้งรอก่อนชั่วขณะเพื่อทุ่มความสนใจไปเข้าใจผู้อื่น ก่อนจะสื่อสารไอเดียของตนออกไป วัฒนธรรมของเราเรียกร้องวิงวอน ถึงขั้นคุกคาม ขอความเข้าใจและการแผ่อิทธิพลโดยไม่ได้กำหนดหน้าที่ไว้ให้ชัดแจ้ง อย่างไรก็ตาม หลักการแห่งการแผ่อิทธิพลอยู่ภายใต้ความควบคุมของความเข้าใจกันและกัน ซึ่งถือกำเนิดมาจากการผูกมัดว่า อย่างน้อยที่สุด จะต้องมีคนหนึ่งเป็นฝ่ายรับฟังลึกซึ้ง รับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจเสียก่อน

ความขัดแย้งและข้อแตกต่าง ผู้คนมีหลายอย่างร่วมกัน แต่เรามีความแตกต่างหลากหลายยิ่งนัก เราคิดไม่เหมือนกัน มีค่านิยมแรงบันดาลใจและวัตถุประสงค์ที่อาจแตกต่างจนถึงขัดแย้งกัน ความขัดแย้งมักมาจากความแตกต่างนั้น วิถีแห่งการขจัดความแตกต่างในสังคม มักจะมุ่ไปที่ 'เอาชนะให้มากที่สุด' จะมีดีอยู่บ้างก็ลดความกราดเกรี้ยวในการแข่งขันให้ลงมาอยู่ในระดับ 'การประนีประนอม' เมื่อทั้งฝ่ายยอมสละประโยชน์ของตนลงบ้างจนบรรลุจุดที่ตกลงกันได้ แม้ทำเช่นนั้นก็ไม่มีฝ่ายใดอิ่มเอมพึงพอใจ ช่างเป็นการเปลืองเปล่าเหลือเกินที่ความแตกต่างจะกดข่มผู้คนให้ลงต่ำสุดไปยังจุดที่ถอยไม่ได้อีกแล้ว! ช่างเป็นการเปลืองเปล่าเหลือเกินที่ไม่มีใครคิดถึงการร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ ช่วยกันคิดหาวิธีที่จะแก้ปัญหา เอื้อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย...วิธีที่ดีกว่าข้อเสนอของฝฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสยอีก

ความเฉื่อยชาส่วนบุคคล ธรรมชาติของมนุษย์อยู่ในมิติทั้งสี่...กายภาพ สติปัญญา สังคม/อารมณ์ และจิตวิญญาณ ลองพิจารณาความแตกต่างและผลที่เกิดขึ้นของวิถีทั้งสอง

กายภาพ
แนวโน้มเชิงวัฒนธรรม : ธำรงวิถีชีวิตเดิมไว้ แก้ปัญหาโดยใช้ยาและการผ่าตัด
หลักการ : ป้องกันโรคร้ายและปัญหา

สติปัญญา
แนวโน้มเชิงวัฒนธรรม : ดูทีวี หาความบันเทิงมาบำเรอฉัน
หลักการ : อ่านกว้างอ่านลึก เรียนรู้ต่อเนื่อง

สังคม/อารมณ์
แนวโน้มเชิงวัฒนธรรม : ใช้ความสัมพพันธ์เป็นสะพานทอดสู่ผลประโยชน์เห็นแก่ตัวส่วนตน
หลักการ : รับฟังด้วยความเข้าอกเข้าใจ รับฟังด้วยความนับถือ การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นนำความปีติยความสำเร็จยิ่งใหญ่มาให้

จิตวิญญาณ
แนวโน้มเชิงวัฒนธรรม : ค้อมยอมรับการหยามหมิ่นเยาะเย้ย ศาสนา
หลักการ : ตระหนักถึงแหล่งพื้นฐานแห่งความหมายในชีวิต และเรื่องเชิงบวกอื่นๆ ที่เราเสาะหาในชีวิต จะอยู่ที่ 'หลักการ'  ซึ่งเป็นกฏธรรมชาติที่ผมเชื่อวา่มาจากพระผู้เป็นเจ้า

ผมใค่ขอเชิญชวนให้คุณเก็บปัญท้าทายอันเป็นสากล และปัญหากับความขาดไร้อันมีลักษณะเฉพาะตัวไว้ในใจ กอดกุมไว้ให้มั่น เมื่อเปิดอ่านหนังสือเล่มนี้คุณจะได้พบคำตอบและทิศทางชิวิตเชิงยั่งยืน จะได้เห็นภาพขัดแย้งของกระแสวัฒนธรรมกับวิถียึดหลักการเป็นจุดศูนย์กลางชีวิตอันเป็นสากล อกาลิโกและประจักษ์ชัดในตัวเองได้ถนัดยิ่งขึ้น

ข้อสังเกตส่วนตัวของผม ผมใคร่ขอกล่าวซ้ำคำถามที่ผมจะยกมาถามทุกคนในชั้นเรียนเสมอ...จะมีสักกี่ท่านบนเตียงมรณะที่ฝันอยากจะใช้ชีวิตนาทีสุดท้ายในที่ทำงานหรือดูทีวี? คำตอบก็คือ ไม่ ไม่เคยมีใครตอบรับ คนเราทุกคนจะคิดถึงผู้เป็นที่รัก ครอบครัว และผู้คนที่เขาดูแล

แม้แต่อับราฮัมมาสโลว์ นักจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ ในบั้นปลายชีวิตก็ยังนำเอาความสุข ความอิ่มเอม และการเอื้อประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังมาวางไว้หน้าการสนองความอยากของตน (จัดไว้เป็นอันดับแรกในสิ่งที่เขาเรียกลำดับชั้นของความอยาก) เขาเรียกว่า สิ่งที่เหลือพ้นเกินความเข้าใจตนเองได้

เรื่องนี้เป็นจริงสำหรับผมเช่นกัน ผลกระทบอิ่มเอมที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุดของหลักการบรรจุอยู่ใน '7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง' ได้มาจากชีวิตของลูกและหลานของผม

ยกตัวอย่างเช่น แชนนอน หลานสาวอายุสิบเก้า อุทิศชีวิตไปเลี้ยงดูเด็กกำพร้าในโรมาเนีย เธอเขียนจดหมายมาถึงผมกับแซนดรา บรรยายการมาเยือนของพระผู้เป็นเจ้า ในตอนที่เด็กกำพร้าอาเจียนรดเนื้อตัวเธอ และอ้าแขนออกมาโอบกอดเธอ วินาทีนั้น แชนนอน ตั้งปณิธานมุ่งมั่นในใจว่า "หนูไม่อยากใช้ชีวิตเห็นแก่ตัวอีกต่อไปแล้ว หนูจะใช้ชีวิตเพื่อดูแลผู้อื่น" ในขณะที่ผมเขียนคำนำหนังสือเล่มนี้ เธอเดินทางกลับไปยังโรมาเนีย ดูแลเด็กกำพร้าที่นั่น

ลูกของผมทุกคนแต่งงานมีครอบครัวกันหมด แต่ละครอบครัวร่วมคิดร่ามปรึกษากัน เขียนปณิธานครอบคัวบนรากฐานของหลักการ เน้นไปที่การบริการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น การได้เห็นพวกเขาใช้ชีวิตสอดคล้องไปกับปณิธานครอบครัว ยังความอิ่มเอมปีติต่อชนรุ่นหลัง

เมื่อคุณจะเริ่มอ่านหนังสือ 'ึ7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง' ผมขอสัญญาว่าคุณจะได้เดินทางผจญภัยในการเรียนรู้ที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง แบ่งปันเรื่องราวที่คุณได้รับให้แก่ผู้เป็นที่รักและที่สำคัญที่สุด นำเอาเนื้อหาไปปรับใช้ในชีวิต ระลึดเสมอว่า การเรียนแล้วไม่ทำ ไม่ถือเป็นการเรียนรู้ การรู้แล้วไม่ทำ ไม่ถือว่ารู้จริง

ผมเองทราบดีว่าการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับอุปนิสัย 7 ประการเป็นไปอย่างลำบากยากยิ่ง ทั้งนี้เพราะ เมื่อใดที่คุณดีขึ้นเก่งขึ้น ธรรมชาติของปัญหาท้าทายก็จะเปลี่ยนไป เหมือนเช่นการเล่นสกี เล่นกอล์ฟ เทนนิส หรือกีฬาอื่นๆ ในเมื่อผมพร้อมที่จะทุ่มเทและดิ้นรนต่อสู้ทุกวันเพื่อจะปรับหลักการทั้งเจ็ดมาประดับชีวิต ผมใคร่เชื้อเชิญให้คุณมาร่วมในการผจญภัยครั้งนี้ด้วย

Stephen R. Covey

เนื้อหาภายเล่มประกอบด้วย
ภาคที่ 1 กรอบความคิดและหลักการ ภาพรวมของอุปนิสัย ทั้ง 7 ประการ
ภาคที่ 2 ชนะใจตนเอง
*อุปนิสัยที่ 1 โปรแอกทีพ
*อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ
*อุปนิสัยที่ 3 ทำสิ่งที่สำคัญก่อน
ภาคที่ 3 ชนะใจคนอื่น
*อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบชนะ/ชนะ
*อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา
*อุปนิสัยที 6 ผนึกพลังประสารความต่าง
ภาคที่ 4 การปรับตัวใหม่
*อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ





 อุปนิสัยที่ 8

 7 อุปนิสัยสำหรับครอบครัวที่ทรงประสิทธิผลยิ่ง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น