วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เส้นทางสู่ ความพอเพียง


"เศรษฐกิจพอเพียง
 เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน
เปรียบเสมือนเสาเข็ม
ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้อยู่ที่เสาเข็ม
แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป..."

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
จากวารสาชัยพัฒนา
ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีเหตุผลกรทบใดๆ อันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรุ็ ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง

ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในวงการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ  สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย สศช. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนทั่วไป

คำนำ

ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คสช.) ได้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ และ ๑๐ สศช. ได้ส้รางขบวนการขับเคลื่อนเศรษกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินกิจกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งกิจกรรมสำคัญหนึ่งคือ การจัดฝึกอบรมวิทยากรตัวคูณเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจและขยายผลการประยุกต์ใชเเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้ชุมนุมชน วุฒิอาสา ผู้แทนภาคประชาสังคม ภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งเป็นแกนภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นรูปธรรม


 เส้นทางสู่ความพอเพียง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น