วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Change You life with NLP : เปลี่ยนชีวิตของท่านด้วยเอ็นแอลพี Part 1 : Sensory


Change Youพ Life with NLP 
เปลี่ยนชีวิตของท่านด้วยเอ็นแอลพี โดย พูนศักดิ์ ธนพันธ์พานิช (www.thaihypnosis)
Part 1 : Sensory

สารบัญ
เอ็นแอลพี (NLP)
สี่ปัจจัยความสำเร็จ
สมมุติฐานสิปประการ
ประสาทสัมผัส
ทำหรือไม่ทำ
ต้นกำเนิด
การควบคุม
สมบัติชิ้นใหม่
สร้าง Resourceful
ความเชื่อและการกำหนดคุณค่า
การเดินทางความเชื่อสู่ความสำเร้จ
รายละเอียด
การทอดสมอ
กระแสแห่งอารมรมณ์
กังหันลม
ออโตเจนิค
ผู้สังเกตการณ์
Phobia Cure
สลับอารมณ์ของคุณ
นอนไม่หลับ
ท่าทาง
กิจกรรม
กรอบความคิด
กรอบของเหตุการณ์
หกขั้นตอนสำหรับเปลี่ยนกรอบความคิด
ฉันมาจากอนาคต
ฉันมาจากอดีต
มองจากมุมอื่น
ฉันกำลังเปลี่ยนไป

เอ็นแอลพี
คำว่า "เอ็นแอลพี" (NLP) เป็นตัวอักษรย่อโดยมาจากคำเต็มว่า Neuro - Linguistic Programing ในภาษาไทยเราโดยส่วนใหญ่จะใช้คำว่า Neuro หมายถึงระบบประะสาทในร่างกายทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสมองระบบประสาทประสาทสัมผัสหรือระบบประสาทสั่งงานต่างๆ คำว่า Linguistic หมายถึงภาษาศาสตร์หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาษา เมื่อนำมารวมกันก็จะหมายถึงภาษาที่ระบบประสาทในร่างกายใช้ในการสื่อสารกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะสื่อสารกับโลกภายนอกหรือสื่อสารกันเองภายในร่างกายก็ตาม ส่วนคำว่า Programing หมายถึงการเขียนโปแกรมหรือการสร้างกำหนดการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบมีแบบแผนที่แน่นอน พอนำทั้งสามคำนี้มารวมกันก็จะมีความหมายในทำนองว่าการกำหนดโปรแกรมการทำงานของการสื่อสารภายในระบบประสาท

เราต้องเข้าใจก่อนว่าผลลัพธ์ของการสื่อสารภายในระบบประสาทที่ว่านี้ก็คือสิ่งที่เรียกว่าจิตใจอันเป็นกำเนิดของทุกพฤติกรรมที่ถูกแสดงออกมาไม่ว่าจะโดยรู้ตัวก็ไม่ก็ตาม ดังนั้นโดยเนื้อแท้แล้วเอ็นแอลพี (NLP) จึงว่าด้วยเรื่องการกำหนดรูปแบบการทำงานของระบบประสาทหรือจิตใจขึ้นมาเสียใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบที่เราต้องการอย่างแท้จริง โดยการกำหนดรูปแบบใหม่ที่ว่านี้ก็เพื่ออำนาวยนวยให้ผู้คนสามารถไปถึงควมาสุขแลำสำเร็จที่พวกเขาต้องการได้ 

ความสุขและความสำเร็จนี้เองคือผลลัพธ์สูงสุดที่เอ็นแอลพี (NLP) ต้องการ

ในระดับสากลแล้วเอ็นแอลพี (NLP) มักได้การรับการยกย่องว่าเป็น "ศาสตร์แห่งความสำเร็จ" (Science of Success) นี้ฟังแล้วเหมือนจะเป็นการโฆษณาอวดอ้างอยู่สักหน่อย แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเอ็นแอลลพี (NLP) มันถุกสร้างมาเพื่อสิ่งนี้จริงๆ เรื่องราวของเอ็นแอลพี (NLP) เริ่มต้นขึ้น ในขณที่ ริชาร์ด แบนด์เลอร์ (Richard Banler) นักศึกษาภาควิชาจิตวิทยาคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกำลังฟังเทปบันทึกกการบำบัดของนักจิตบำบัดแนวเกสตอลท์ (Gestalt) ที่ชื่อฟริตซ์ เพิรล์ (Fritz Perl) เพื่อถอดเทปเป็นรายงานส่งให้ ดร.โรเบิรต์ สปิตเซอร์ (Robiert Spitzer) อาจารย์ของเขา ในขณะที่ถอดเทปอยู่นั้น ริชาร์ตได้สิงเกตูว่าการบำบัดนั้นมีรูปแบบการใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวบางอย่างแฝงอยู่ซึ่งการทำการบำบัดของเพิร์ลประสบความสำเร็จได้มากกว่านักบำบัดคนอื่นๆ เขามีแนวคิดว่าหากสามารถถอดแบบรูปแบบเฉพาะนี้ออกมาได้ก็หมายความว่าใครๆ ก็สามารถทำการบำบัดให้ได้ผลความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมไม่แตกต่างไปจากนักบำบัดระดับปรมาจารย์อย่างเพิร์ลดังนั้นริชาร์ดจึงได้นำประเด็นนี้ไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาของเขาซึ่งในที่สุดอาจารย์ของเขาก็ได้แนะนำเขากับ ดร.จอห์น กรินเดอร์ (John Grinder) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์ จากนั้นทั้งสองจึงได้ร่วมกันศึกษาวิธีการสื่อสารของเพิร์ลอย่างละเอียดนอกจากนี้ก็ยังได้ทำการศึกษาการทำงานของนักจิตวิทยาบำบัดระดับปรมาจารย์อีกหลายท่านเช่น เวอจิเนีย ซะเทียร์ (Virgina Satir) ผู้ริเริ่มเทคนิคบำบัดปัญหาครอบครัว หรือ ดร.มิลตัน เอช. อีริคสัน จิตแพทย์ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเทคนิคการสะกดจิต (Hynopsis) สมัยใหม่ จนกระทั่งพวกเขาทั้งสองสามารถคิดค้นหลักการของ Meta Model ซึ่งเป็นหลักการที่ว่าด้วยเรื่องของรูปแบบคำพูดบางอย่างที่แสดงถึงโครงสร้างภายในระบบประสาทของแต่ละคนซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นทั้งหมดของศาสตร์เอ็นแอลพี และหลังจากนั้นเอ็นแอลพีก็เป็นที่สนใจต่อทั้งนักจิตวิทยาและนักภาษาศาสตร์ทั่วโลก มีงานวิจัยทางจิตวิทยาจำนวนนมากที่ได้ถูกนำมาพัฒนาต่อยอดเอ็นแอลพี (NLP) ออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุด ริชาร์ด แบนด์เลอร์ ก็ได้นำเอาเอ็นแอล (NLP) พ้นออกจากการอยู่เพียงแค่วงนักวิชาการโดยนำเอาเอ็นแอลพี (NLP) ออกมาเผยแพร่ต่อผู้คนทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารองค์กร นักกีฬา ตลอกจนบุคคลทั่วไปที่ต้องการความสำเร็จนชีวิต ใช้เวลาไม่นานนักเอ็นแอลพี (NLP) ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นศาสตร์แห่งความสำเร็จที่เยี่ยมยอดที่สุดชนิดหนึ่งที่โลกนี้เคยมีมา

สำหรับเอ็นแอลพี (NLP) แล้ว เราถือว่าทุกความสำเร็จมีรูปแบบเฉพาะของมันซึ่งมันจะเกิดขึ้นแบบวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้นอย่าแปลกใจเลยถ้าหากคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตจึงมักประสบความสำเร็จซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างอัศจรรย์ การศึกษาเอ็นแอลพี (NLP) ก็คือการศึกษารูปแบบความสำเร็จเหล่านั้นนั่นเองครับ


4 ปัจจัยความสำเร็จ

สำหรับเนื้อหาต่อไปนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเอ็นแอลพี (NLP) เพราะตัวเอ็นแอลพี (NLP) เองจะมีฤทธิ์เดชสรรค์สร้างความสำเร็จให้แก่ผุ็คนได้มากมายแค่ไหนมันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่จะได้กล่าวถึงในต่อไปนี้

เพื่อความสำเร็จเมื่อใช้งานเอ็นแอลพี (NLP) ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดหรือกับใครก็ตามเราต้องการอะไรบ้าง?

เพื่อความสำเร็จเมื่อใช้งานเอ็นแอลพี (NLP) ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดหรือกับใครก็ตามเราต้องการอะไรบ้าง?

เพื่อความสำเร็จของตัวเอ็นแอลพี (NLP) เองเอ็นแอลพี (NLP) ต้องการปัจจัยพื้นฐานสี่ประการเท่านั้น ทั้งสี่ประการนี้สำคัญมากจนเอ็นแอลพีเรียกว่า "สี่เสาหลักของความสำเร็จ" (Four Pillar of Success) เพราะเปรียบเสมือนเสาหลักสี่ต้นที่คอยค้ำพยุงความสำเร็จของเอ็นแอลพี (NLP) เอาไว้ หากขาดหรืออ่อนแอไปเพียงเสาใดเสาหนึ่งโครงสร้างความสำเร็จทั้งหมดก็อาจจะพังทลายลงมาได้ เสาทั้งสี่ต้นนี้ประกอบไปด้วย

เสาต้นที่หนึ่ง "ผลลัพธ์ที่ต้องการ" (Outcome) ประการแรกสุดเหนือสิ่งอื่นใดที่จะต้องมีก็คือเราจะต้องรู้ว่าเราต้องการผลลัพธ์อะไร ยิ่งต้องการผลลัพธ์มากเท่าไหร่เอ็นแอลพี (NLP) ก็ยิ่งขับเคลื่อนแล่นฉิวไปอย่างสะดวก ยิ่งผลลัพธ์ที่ต้องการมีความชัดเจนมีรายละเอียดที่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนเอ็นแอลพี (NLP) ก็ยิ่งทำงานง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่รู้ไม่มี หรือไม่ชัดเจนทุกอย่างก็จบ

เสาต้นที่สอง ที่เอ็นแอลพี (NLP) ต้องการก็คือ "ความยืดหยุ่น" (Flexible) คำว่ายืดหยุ่นในที่นี้หมายถึงความยืดหยุ่นในเชิงพฤติกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้รับผลจากเอ็นแอลพี (NLP) ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตามหากเป็นคนที่มีบุคลิกยืดหยุ่นสูงสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย ยอมรับต่อสิ่งใหม่ๆ ได้ดี ไม่ยึดติดต่อรูปแแบบความเคยชินของตัวเองมากจนเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เอ็นแอลพีก็สามารถทำงานกับเขาได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าปริมาณของความยืดหยุ่นในเชิงพฤติกรรมเริ่มลดลง เริ่มมีความยึดติดกับความเคยชินเดิม เริ่มมีการปฏิเสธหรือต่อต้านสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังรับรู้อยู่ (และอาจจะไปขัดแย้งกับความเคยชินเก่าของตัวเอง) เอ็นแอลพี( NLP) ก็เริ่มทำงานได้ยากขึ้น ต้องการจำนวนครั้งของการทำซ้ำที่มากขึ้นเพื่อไปให้สู่ความสำเร็จ แต่หากคนๆ นั้นขาดซึ่งความยืดหยุ่นไม่สามารถเปิดใจยอมรับต่อสิ่งใหม่ได้เลย โดยคอยแต่จะยึดติดกับรูปแบบความเคยชินเก่าของตัวเองอย่างเหนียวแน่น เอ็นแอลพี (์NLP) ก็ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ใดต่อคนๆ นั้นได้อย่างแน่นอน

สำหรับเสาต้นที่สามก็คือ "ความมีมิตรภาพ" (Rapport) คำว่ามิตรภาพในที่นี้หมายถึงความปราถนาดี ความไว้ใจ ความเชื่อใจ หรือความยอมรับที่มีให้แก่กัน เอ็นแอลพี (NLP) ถือว่าความมีมิตรภาพต่กันเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยให้ปัญหาที่เคยยุ่งยากกลายเป็นเรื่องง่ายได้อย่างน่าอัศจรรย์ หลายปัญหาสามารถแก้ได้ทั้งที่เจ้าตัวยังไม่ได้ออกปากขอความช่วยเหลือหรือลงมือทำสิ่งใดเลยด้วซ้ำไป (อีกฝ่ายจัดการให้เองหมด) แต่ถ้าขาดความมีมิตรภาพต่อกันเสียแล้ว สิ่งที่ตามมาย่อมหนีไม่พ้นความหวาดระแวง ความกลัว ความสงสัย ความไม่เข้าใจกัน การปิดกั้น การไม่ยอมรับต่อกันซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ให้ผลดีใดๆ ต่อเอ็นแอลพี (NLP) เลยแม้แต่น้อย

และเสาต้นสุดท้ายของเอ็นแอลพี (NLP) ก็คือ"ประสิทธิภาพของระบบประสาท" ระบบประสาทสัมผัสอันได้แก่ความสามารถในการรับรู้ภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสเป็นประตูด่านแรกของทั้งหมด ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่พร้อมเช่นหูหนอกตาบอดหรือสมองทำงานบกพร่องไปด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม กระบวนการรับรู้และเรียนรู้ก็ย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือหากเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นในลักษณะที่ผิดปรกติออกไป ในทางตรงข้ามหากระบบประสาทสามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถจินตยาการสร้างภาพ เสียง หรือความรู้สึกสัมผัสต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เอ็นแอลพี (NLP) ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


สมมุติฐาน 10 ประการ

นอจากเสาหลักแห่งความสำเร็จทั้งสี่ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว เอ็นแอลพี (NLP) ก็ยังมีข้อสมมุติฐานอีกสิบประการซึ่งถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่นักเอ็นแอลพี (NLP) จะต้องยึดถือเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามหากมีความขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานทั้งสิบประการต่อไปนี้เสียแล้ว สิ่งนั้นเราก็ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นเอ็นแอลพี (NLP) ได้อีกต่อไป โดยทั้งสิบประการที่ว่านั้นประกอบไปด้วย

หลักการข้อที่หนึ่งกล่าวว่า "แผนที่เป็นเพียงแผนที่ มันไม่ใช่และไม่มีวันเป็นพื่้นที่จริงอย่างเด็ดขาด" ประการแรกสุดนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยเอ็นแอลพี (NLP) เปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงว่าเป็นเสมือนพื้นที่หนึ่ง โดยเปรียบการรับรู้ของระบบประสาทที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพียงแผนที่ฉบับหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อพยายามอธิบายพื้นที่นั้นซึ่งไม่ว่าแผนที่จะถูกเขียนขึ้นมาดีแค่ไหนก็ตามแผนที่ก็ยังคงเป็นได้แค่เพียงแผนที่ ไม่มีวันจะเป็นสิ่งเดียวกันกับพื้นที่จริงไปได้โดยเด็ดขาด การเขียนแผนที่ต่อให้เขียนดีแค่ไหนก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดรายละเอียดบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง ดีไม่ดีอาจจะเกิดความผิดเพี้ยนบางประการขึ้นมาจากกระบวนการวาดเขียนเสียด้วยซ้ำไป สำหรับการบวนการรับรู้ของระบบประสาทก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากรายละเอียดของเหตุการณ์มันมากเกินกว่าที่ระบบประสาทจะสามารถรับรู้ได้ทั้งหมด ดังนั้นระบบประสาทจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการในการคัดกรองและสรุปความหมายให้กับสิ่งที่รับรู้นั้น และบ่อยครังความผิดเพี้ยนบางประการก็เกิดขึ้นในการรับรู้ของแต่ละคน

สำหรับเหตุการณ์เดียวกันแต่ละคนอาจจะรับด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันและตอบสนองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันนั่นก็เพราะแผนที่ที่แตกต่างกัน การรับรู้เข้าใจและตอบสนองจึงมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามจงเคารพในแผนที่ของผู้อื่นเสมอ การที่แต่ละคนเอาแต่ใช้แผนที่ของตัวเองเป็นมาตรฐานไปวัดความผิดถูกกับแผนที่ของผู้อื่นซึ่งย่อมแตกต่างกันเป็นต้นเหตุที่สำคัญที่สุดของความขัดแย้ง ขอให้จดจำอยู่เสมอว่าความจริงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล อาจจะตรงกันหรือขัดแย้งกันก็ได้เป็นเรื่องปรกติขึ้นอยู่กับวิธีการรับรู้ของแต่ละคนก็เท่านั้นเอง

หลักการข้อที่สองกล่าวว่า "ความหมายที่แท้จริงของการสื่อสารไม่ใช่วิธีการสื่อสาร หากแต่เป็นผลตอบรับที่ได้จากการสื่อสาร" อธิบายง่ายๆ ว่ามันไม่เกี่ยวเลยว่าคุณจะพูดหรือทำอะไร แต่มันอยู่เพียงแค่ว่าคนอื่นจะตีความหมายอย่างไรต่างหาก ถ้าคุณบอกว่าคุณอยู่เฉยๆ ไม่ได้พูดทำหรือสื่อสารอะไรเลยก็จริง แต่ผู้คนที่อยู่รอบๆ เขาจะคิดต่อการอยู่เฉยๆ ของคุณอย่างไรหล่ะ นั่นต่างหากที่ เอ็นแอลพี (NLP) เรียกว่าเป็นการสื่อสารที่แท้จริง ดังนั้นสำหรับเอ็นแอลพีแล้วการสื่อสารจึงไม่ใช่เรื่องของวิธีการ หากแต่เป็นเรื่องของผลลัพธ์ต่างหาก นอกจากนี้เอ็นแอลพี (NLP) ยังมองว่าไม่มีใครที่สามารถเลี่ยงการสื่อสารได้ เพราะมันจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าคุณจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ตาม

หลักการข้อที่สามกล่าวว่า "พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวตนของเรา" เพราะทุกๆ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นเพียงผลจากการตอบสนองของระบบประสาทซึ่งเป็นไปตามกลไกของมันก็เท่านั้น ซึ่งก็อาจจะเป็นไปตามรูปแบบที่เราต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้ เอ็นแอลพี (NLP) มองว่าความต้องการในระดับที่มีสติมีเหตุของเราต่างหากที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา

หลักการข้อที่สี่กล่าวว่า "ในโลกนี้ไม่มีความล้มเหลว มีแต่ผลลัพธ์เท่านั้น" เมื่อเราทำสิ่งใดก็ตามผลลัพธ์ย่อมเกิดขึ้นไปตามการกระทำของเรา มันเป็นของมันอย่างนั้นเองไม่มีอะไรที่มากไปกว่านั้น ส่วนความพอใจหรือความผิดหวังมันเป็นเพียงผลจากกระบวนการสื่อสารของระบบประสาทกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นเอ็นแอลพีจึงมองว่าอารมณ์เหล่านี้ล้วนไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทเท่านั้น ที่มีจริงได้มี เพียงหนึ่งเดียวคือผลลัพธ์จากการกระทำเท่านั้น และไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรเราไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากยอมรับต่อผลที่กำลังเกิดขึ้น

หลักการข้อที่ห้ากล่าวว่า "จิตและกายเป็นหน่วยเดียวกัน" ข้อนี้อาจจะขัดกับความเคยชินพื้นฐานของชาวเอเซียซึ่งมักกล่าวว่าจิตเป็นนายกายเป็นบ่าวหรือจิตนั้นย่อมมีอำนาจเหนือร่างกาย สำหรับเอ็นแอลพี (NLP) กลับมองว่าทั้งกายและจิตสอลสิ่งนี้เป็นกลลไกหน่วยเดียวกัน มีความเสมอเท่าเทียมกัน มีการเชื่อมโยงถึงกันชนิดที่ว่าไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อเกิดบางสิ่งขึ้นกับร่างกายจิตย่อมได้รับผลกระทบ และในทางตรงกันข้ามหากจิตใจเปลี่ยนแปลงไปร่างกายก็ย่อมเกิดตอบสนองตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะว่าจิตก็คือผลลัพธ์การทำงานของโครงข่ายระบบประสาทที่ปกคลุมอยู่ทั่วไปตลอดทั้งร่างกายของเรานั่นเอง

หลักการข้อที่หกกล่าวว่า "ทุกพฤติกรรมล้วนแล้วมีเจตนาดี" เพียงเจตนาดีที่ว่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำว่า "ต่อตนเอง" ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น ถ้าใครสักคนจะยิงปืนใสอีกคน ดูเหมือนว่าสิ่งที่เขาทำจะไม่เป็นเจตนาดีที่ตรงไหน แต่สำหรับส่วนตัวเขาเองนี่ย่อมเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ในวินาทีนั้นในบริบทนั้น เช่นถ้าไม่เหนี่ยวไกยิงออกไปในวินาทีนั้นตัวของเขาเองก็อาจจะเป็นฝ่ายโดนยิงเสียเองก็ได้ ดังนั้นเอ็นแอลพี (NLP) จึงมองว่าเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือก เราก็จะเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดต่อตัวเองในวินาทีนั้นในบริบทนั้นเสมอ เพียงแต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงในต่อมารวมถึงผลต่อเนื่องที่จะตามมามันจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นอีกเรื่อง และผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามเราทำได้เพียงยอมรับมันเท่านั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอะไรได้อีก

หลักการข้อที่เจ็ดกล่าวว่า " การมีทางเลือกมากย่อมเป็นการดีเสมอ" เอ็นแอลพีมองว่าการที่ปัญหามันเป็นปัญหานั้นโดยเนื้อแท้มันเกิดจากภาวะการไม่มีทางเลือก หากเราสามารถมีทางเลือกอื่นขึ้นมาได้ปัญหามันก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป สมมุติว่าปัญหาของเราคือ ไม่มีเงินถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปเราต้องแย่แน่ๆ แต่เมื่อทางเลือกอื่นๆ มันสามารถเกิดขึ้นมาได้ เช่น เอาของบางอย่างไปขาย สามารถไปขอเงินจากแม่ หรือมีแหล่งกู้ยืมเงินมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ยิ่งมีทางเลือกเพิ่มมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ความหนักหน่วงของปัญหาก็ยิ่งเบาบางลงตามไปด้วย ที่เหลือก็แค่ตัดสินใจเลือกเท่านั้นว่าจะใช้ช่องทางไหนเป็นคำตอบ และแนน่อนเราจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเสมอในบริบทนั้นๆ เสมอดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

หลักการข้อที่แปดกล่าวว่า "ความสำเร็จจะเกิดขึ้นเมื่อทรัพยากรมีความพร้อมเพรียง" แน่นอนเอ็นแอลพี (NLP) ไม่ได้มองว่าเราจะสำเร็จได้เพราะโชคช่วย อะไรก็ตามที่เราได้มาแบบไม่ได้เจตนานั่นไม่เรียกว่าความสำเร็จเพราะมันเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น และเราก็ไม่สามารถทำให้มันเกิดซ้ำตามความต้องการได้ด้วย ความต้องการที่ทำให้เกิดขึ้นโดยเจตนาต่างหากคือความสำเร็จที่แท้จริง เอ็นแอลพี (NLP) มองว่าการเกิดขึ้นของความสำเร็จนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการมีทรัพยากรที่มีความพรอม ถ้าพร้อมเมื่อไหร่ความสำเร็จก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้เสียด้วยซ้ำไป เช่นถ้าความสำเร็จที่ต้องการก็คือไข่เจียวหอมๆ ซักหนึ่งจานเราก็ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าไข่ น้ำมัน เครื่องปรุง เครื่องครัวทั้งหลาย วิธีการทอดที่ถูกต้อง และที่ขาดไม่ได้คือ ความต้องการผลลัพธ์คือไข่เจียวหอมๆ ซักจาน ไม่ว่าจะไข่เจียวหรือธุรกิจพันล้าน เอ็นแอลพี (NLP) มองว่าการไปสู่ความสำเร็จในระดับหลักการนั้นมันไม่ได้ต่างกันเลยแม้แต่น้อย และแน่นอนที่สุดว่าถ้าวิธีการแบบนี้ องค์ประกอบแบบนี้ เงื่อนไขแบบนี้มันได้ผลกับคนหนึ่งมันก็ย่อมได้ผลกับคนอื่นเช่นกัน

หลักการข้อที่เก้ากล่าวว่า "ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีการ ผลลัพธ์ก็จะไม่มีวันเปลี่ยน" อะไรก็ตามที่เคยทำด้วยวิธีการเดิมๆ เสมอ เรื่องนี้ไม่ต้องดูอะไรยากๆ ดูแค่ปลากระป๋องบนสายพานในโรงงานกระป๋องก็แล้วกัน ทุกกระป๋องออกมาเท่ากันหมดหรืออย่างน้อยเรียกว่าใกล้เคียงกันหมดก็เพราะว่าทุกกระป๋องมาจากวัตถุดิบแบบเดียวกันวิธีการผลิตแบบเดียวกัน ลองถ้ามีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเหล่านี้ออกไปบ้างผลลัพธ์ก็ย่อมเปลี่ยนไปอย่างไม่ต้องสงสัย ชีวิตของเราเหมือนกัน หลายคนอาจนึกเบื่อหน่ายรูปแบบชีวิตแบบเดิมๆ ของตัวเองเสียเต็มทีแล้ว เื่อไหร่ฉันจะรวยซักที เมื่อไหร่ฉันจะก้าวหน้ากว่านี้ แต่ไม่ว่าจะตัดพ้อต่อว่าตัวเองไปมากแค่ไหนก็ตามตราบใดที่วิธีการใช้ชีวิตยังเป็นแบบเดิม ยังคิดพูดหรือกระทำในรูปแบบเดิมด้วยวิธีการเดิมๆ ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเป็นแบบเดิมเสมออย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีการมันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนทั้งนั้น จนกว่าวิธีการบางอย่างจะเปลี่ยนไปนั่นแหล่ะผลลัพธ์จึงจะเปลี่ยนแปลง

และหลักการที่สิบกล่าวว่า "ทุกคนมีทรัพยากรที่เท่ากัน" คำว่าทรัพยากรในที่นี้เอ็นแอลพี (NLP) กำลังหมายถึงระบบประสาทอันถือว่าเป็นต้นทุนแท้จริงของคนทุกคน ในโลกนี้หากไม่โชคร้ายได้เิกมาเป็นคนพิการเสียก่อน เอ็นแอลพี (NLP) ถือว่าทุกคนเท่าเทียมกันหมด พวกเราทุกคนต่างก็มีสมองหนึ่งก้อนและมีโครงข่ายประสาทที่ทำงานด้วยหลักการเดียวกันทัดเทียมไม่มีใครพิเศษไปกว่ากัน จะต่างกันจริงๆ ก็เพียงแควิธีการทำงานวิธีการทำงานภายในระบบประสาทของแต่ละคนเท่านั้นที่ผลักดันให้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน เรื่องประเภทที่ว่าชีวิตเกิดมายากจนแร้นแค้นไม่มีต้นทุนชีวิตอะไรหนำซ้ำบางคนยังมีร่างกายพิการแต่ก็สามารถใช้ชีวิตจนประสบความสำเร็จอย่างสวยงามทำนองนี้ผมคิดว่าพวกเราคงผ่านตากันมาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยเสียด้วยซ้ำไปทั้งหมดก็เกิดจากจิตใจอันเป็นผลจากระบบประสาทของพวกเขา แล้วระบบประสาทของคุณหล่ะทำงานอย่างไร คุณคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร พูด ทำ หรือไม่ทำอะไรบ้าง ระบบประสาทของคุณตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิด อย่างไรบ้าง นั่นต่างหากคือต้นทุนไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงสำหรับเอ็นแอลพี

เปลี่ยนชีวิตของท่านด้วย NLP เล่ม 1 (อีบุ๊คแจกฟรี!)


เปลี่ยนชีวิตของท่านด้วย NLP


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น